กฎหมายบังคับใช้ ที่ไหนบ้างต้องมีเครื่อง AED ติดตั้งพร้อมใช้งาน
กฏหมายใหม่สำหรับเครื่อง AED บังคับใช้แล้ว
เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ตามที่กระทรวงมหาดไทยได้มีการออกราชกิจจานุเบกษา โดยออกกฎกระทรวงฉบับที่ 69 โดยมีการเพิ่มข้อ 29/2 ซึ่งเป็นการควบคุมอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ที่เป็นอาคารสาธารณะ ต้องจัดให้มีพื้นที่ หรือตำแหน่งเพื่อติดตั้งเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator : AED) และให้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป โดยรายละเอียดของเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ จำนวน ตำแหน่ง และระบบการติดตั้ง ให้เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติการฉุกเฉินที่คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน (กพฉ.) ประกาศกำหนด
อาคารสาธารณะ (กฎกระทรวงฉบับที่ 55)
อาคารที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการชุมนุมคนได้โดยทั่วไป เพื่อกิจกรรมทาง ราชการ การเมือง การศึกษา การศาสนา การสังคม การนันทนาการ หรือการพาณิชยกรรม เช่น โรงมหรสพ หอประชุม โรงแรม โรงพยาบาล สถานศึกษา หอสมุด สนามกีฬากลางแจ้ง สนามกีฬาในร่ม ตลาด ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า สถาน บริการ ท่าอากาศยาน อุโมงค์ สะพาน อาคารจอดรถ สถานีรถ ท่าจอดเรือ โป๊ะจอดเรือ สุสาน ฌาปนสถาน ศาสน สถาน เป็นต้น
อาคารสูง (กฎกระทรวงฉบับที่ 33)
อาคารที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้โดยมีความสูง 23 เมตรขึ้นไป
อาคารขนาดใหญ่พิเศษ (กฎกระทรวงฉบับที่ 33)
อาคารที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้อาคารหรือส่วนหนึ่งของอาคารเป็นที่อยู่อาศัยหรือประกอบกิจการประเภท เดียวกันหรือหลายประเภทโดยมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดในหลังเดียวกันตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตร ขึ้นไป
รายละเอียดเครื่อง AED ตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน
ตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่อง มาตรฐานการปฏิบัติการฉุกเฉินในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานนอกสถานพยาบาล พ.ศ. 2564 ได้กำหนดรายการละเอียดของเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator : AED) ดังนี้
-
ตัวเครื่องมีลักษณะการทำงานแบบอัตโนมัติ หรือกึ่งอัตโนมัติ และมีปุ่มสำหรับปล่อยพลังงานไฟฟ้า
-
ตัวเครื่องสามารถให้พลังงานไฟฟ้าได้เองอัตโนมัติ โดยมีพลังงานไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับเด็ก 50 จูล และสำหรับผู้ใหญ่ไม่น้อยกว่า 120 จูล
-
ตัวเครื่องพร้อมทำการปล่อยพลังงานไฟฟ้า ภายหลังการเริ่มวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจในระยะเวลาไม่เกิน 10 วินาที
-
ตัวเครื่องสามารถรองรับการใช้งานได้ทั้งภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ
-
ตัวเครื่องสามารถรองรับดารใช้งานได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
-
ตัวเครื่องมีมาตรฐานเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์
เครื่อง AED จาก Mindray C Series : SMARTER & FASTER
เครื่อง AED จาก Mindray ที่จัดจำหน่ายโดย DL innovation มีคุณสมบัติตรงตามที่ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เป็นแบบ Fully Automatic ทำงานอัตโนมัติ ใช้งานง่าย ได้ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ โดยเครื่องจะวิเคราะห์และปล่อยกระแสไฟเพื่อไปกระตุกหัวใจของผู้ป่วยเองอัตโนมัติ หลังจากแปะแผ่นนำไฟฟ้าที่ผู้ป่วยตามเสียงคำแนะนำจากครื่องอย่างละเอียด และมีระบบคำแนะนำการทำ CPR ให้แก่ผู้ใช้งานทุกขั้นตอน ช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยมากขึ้นด้วย
ติดตั้งเครื่อง AED ต้องคำนึงถึง?
เครื่อง AED ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยชีวิตผู้ที่มีอาการหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ดังนั้นการเลือกเครื่อง AED เพื่อเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยจึงต้องพิจารณาให้ดี ควรเลือกแบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือ ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน มีระบบการทำงานที่แม่นยำช่วยชีวิตได้อย่างรวดเร็ว ได้รับมาตรฐานในระดับโลก
โดยตำแหน่ง และจำนวนการติดตั้งเครื่องจะต้องคำนึงถึงการเข้าถึง และนำมาช่วยเหลือผู้ป่วยภายในระยะเวลา 4 นาที นับตั้งแต่พบผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น โดยให้ติดตั้งอยู่ในจุดที่สังเกตได้ง่าย มองเห็นได้ในที่มืด ปลอดภัยสูงจากพื้นไม่เกิด 1.5 เมตร เข้าถึงและนำมาใช้ได้สะดวก มีที่จัดเก็บซึ่งเป็นตู้ หรือแขวนผนัง กำหนดให้มีสัญลักษณ์ที่เป็นเครื่องหมายสากลในจุดที่ติดตั้งและขั้นตอน วิธีการช่วยเหลือฉุกเฉิน มีป้ายบอกทางไปยังจุดของตำแหน่งที่ติดตั้งเครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator : AED)
ทั้งนี้ให้มีการบำรุงรักษาเครื่อง การตรวจเช็คตามระยะ การซ่อมบำรุง ให้เครื่องมีความพร้อมในการใช้งานได้ตลอดเวลา และมีคู่มือตรวจสอบได้
นอกจากนั้น ยังกำหนดให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่พึงจัดให้มีระบบแสดงพิกัดจุดติดตั้งเครื่อง AED ที่เชื่อมกับหน่วยปฏิบัติการอำนวยการและต้องกำหนดแนวทางการประสานงาน การแจ้งเหตุ การรายงานไปยังหน่วยปฏิบัติการอำนวยการหรือสถานพยาบาล ในการขอคำแนะนำ การดูแลผู้ป่วย การนำส่งผู้ป่วย ได้อย่างปลอดภัยและทันท่วงที รวมถึงการฝึกซ้อมตามแนวทางที่กำหนดอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมที่
Phone number : 095-804-0286
Line OA : @dlinnovation
Facebook : https://www.facebook.com/dlinnovation
IG : dl_innovation